ไข่เค็ม

 ที่มาของไข่เค็ม    
         สมัยก่อนผู้คนมีอาชีพทำนากันมาก  มีการทำนา  ปลูกข้าว  หรือเรียกได้ว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" และประชาชนมีการเลี้ยงเป็ดเป็นจำนวนมาก  และเลี้ยงทั่วไปตามหมู่บ้านต่างๆ ตำบลต่างๆ เพราะอาหารเลี้ยงเป็ดตามธรรมชาติมีมาก เช่น ข้าวเปลือก ลูกปลา หอยในนาทำให้ชาวบ้านมีการเลี้ยงเป็ดปล่อยทุ่ง หากินในนาและรอบๆบ้าน ไข่เป็ดเหลือจากการบริโภคในครัวเรือนจึงนำไปขายในตลาด แต่เนื่องด้วยไข่เป็ดมีจำนวนมากและหลายบ้านก็เลี้ยงเป็ดจึงมีการดองไข่เป็ดเพื่อเก็บไว้ได้นานจนกลายเป็นไข่เค็มจนถึงทุกวันนี้



ประโยชน์ของไข่เค็ม
          ในไข่มีโปรตีนมากซึ่งโปรตีนช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อที่สึกหรอ ในไข่ยังมีแคลเซียม วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี6 วิตามินบี12 ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และโคเลสเตอรอลในวัยเด็กควรกินไข่ทุกวัน และในวัยสูงอายุควรกินไข่วันละ 1 ฟอง ไข่เค็มยังสามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน ไข่เป็ดสามารถนำมาทำเป็นอาหารหลากหลายชนิืด และยังสร้างเสริมงานให้แก่ครอบครัวที่ไม่มีงานทำอีกด้วย  


การทำไข่เค็ม
1. ล้างไข่เป็ดให้สะอาดฟักไว้ให้แห้ง
2. ต้มเกลือกับน้ำให้เดือด ยกลงกรองทิ้งไว้ให้เย็น
3. เรียงไข่เป็ดที่ล้างไว้ในขวดโหล ที่จะดอง เทน้ำเกลือที่ต้มไว้ลงไปจนท่วมไข่ ใช้ไม้ขัดหรือถุงพลาสติกใส่น้ำ กดไข่ให้จมในน้ำเกลือตลอดเวลา ปิดฝาขวด เก็บไว้ประมาณ สัปดาห์
4. นำมาต้มประมาณครึ่งชั่วโมง ตักขึ้นพักไว้ให้เย็น นำมารับประทานได้
หมายเหตุ
1. สูตรที่ให้นี้เรียกว่าหนึ่งต่อสาม คือ เกลือ น้ำ ใช้เวลา สัปดาห์ ซึ่งเป็นสูตรที่รับประทานได้เร็ว
2. ถ้าไม่รีบใช้สูตรหนึ่งต่อสี่ก็ได้ คือ เกลือ น้ำ ใช้เวลา สัปดาห์

การยืดอายุของไข่เค็ม
        การยืดอายุ การเก็บรักษาและการลดกลิ่นคาวของไข่เค็มที่ประสบปัญหาไข่เค็มเน่าเสียเร็วและมีกลิ่นคาว โดยการเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องได้ไม่ถึง 1 สัปดาห์ จึงยืดอายุการเก็บรักษาไข่เค็มโดยการที่ดองไข่ไว้เป็นเวลา 20 วัน สามารถเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิห้องได้นานที่สุดเป็นระยะเวลา 38 วัน แต่ว่าไข่จะมีรสชาติเค็มเกินไปไม่พอดี แต่ถ้าดองไข่เป็ดไว้เป็นเวลา 15 วันจะสามารถเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิห้องได้ 29 วัน จะมีรสชาติพอดีไม่เค็มเกินไป